Opening Hours : Monday to Saturday - 8.30AM to 5.00PM

EMAIL

naruechol@uticachemical.com

Call Now

0-2391-2632 ,0-2715-3586

Knowledges

28
Oct
2017

Paint Process

สี หมายถึง สารที่มีส่วนผสมของผงสี สิ่งนำสี (เช่น Resin สารยึดเกาะ และตัวทำละลาย) และวัตถุอื่นในสภาพที่เป็น ของเหลว หรือของแข็ง ใช้สำหรับพ่น, ทา หรือเคลือบพื้นผิวใดๆ เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น ความสวยงาม, การป้องกันการกัดกร่อน, ยึดอายุการใช้งานของวัสดุ ฯลฯ เมื่อสีแห้งจะเกิดฟิล์มติดบนพื้นผิวนั้น

 

ส่วนประกอบหลักของสี มี 4 อย่าง คือ

1. สารยึดเกาะ (Binder)

สารยึดเกาะเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญที่สุดของสี สารยึดเกาะมีลักษณะเป็นฟิล์มบาง มีหน้าที่ทำให้สีเกาะติดแน่นอยู่บนพื้นผิว และยึดส่วนประกอบอื่นๆของสีไว้ในฟิล์ม โดยส่วนใหญ่สารยึดเกาะเป็นสารจำพวกเรซิ่น (Resin)

คุณภาพของสารยึดเกาะมีผลโดยตรงกับคุณภาพของสี เนื่องจากสารยึดเกาะส่งผลให้สีติดแน่นทนนาน และให้สีสวยงามยาวนานได้ ทั้งนี้คุณภาพของสารยึดเกาะจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติทางเคมี และทางฟิสิกส์ ซึ่งสารยึดเกาะแต่ละประเภทมีความเหมาะกับชนิดของสีที่แตกต่างกัน เช่น

  • Acrylic Resin เหมาะสำหรับใช้เป็นสารยึดเกาะของสีที่ต้องทนต่อสภาวะดินฟ้าอากาศสูงมาก
  • Alkyd Resin เหมาะสำหรับใช้เป็นสารยึดเกาะของสีน้ำมันทาบ้าน

 

2. ผงสี (Pigments)/ ฟิลเลอร์ (Filler)

ผงสี เป็นตัวทำให้เกิดเฉดสี และความทึบแสง มีหน้าที่ในการปิดบังพื้นผิว นอกจากนี้ผงสีบางประเภทยังทำหน้าที่พิเศษอื่นๆอีก เช่น ต้านทานการผุกร่อน, ทนไฟ เป็นต้น ดังนั้นสีที่ดีต้องมีการคัดเลือกผงสีที่เหมาะสม เช่น

  • Organic pigment
  • Inorganic pigment: TiO2/Fe2O3/Carbon black
  • Filler: CaCO3, SiO2

 

3. ตัวทำละลาย (Solvent)

ตัวทำละลายทำหน้าที่ผสมผงสี และสารยึดเกาะให้ได้ความหนืดตามที่ต้องการ เพื่อความสะดวกในการผลิต และเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน ตัวทำละลายจะระเหยไปหลังจากที่ส่วนประกอบอื่นๆ ทำปฏิกิริยาเกิดเป็นฟิล์มสี

ตัวทำละลายที่ใช้ในสี มีหลากหลายชนิด การเลือกใช้ชนิดใดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย  เช่น  ความสามารถในการละลายสารยึดเกาะ, กรรมวิธีในการเคลือบสี เช่น ทาด้วยแปรง, ลูกกลิ้ง, พ่นด้วย air spray หรือด้วย airless spray, อัตราความเร็วในการแห้งของฟิล์มสี เป็นต้น

 

4.       สารปรุงแต่ง (Additives)

Additives

Functions

Driers

ช่วยทำให้สีน้ำมันแห้งต้ว

Plasticizers

ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของฟิล์มสี เพื่อให้สามารถทนแรงกระแทก การคดงอ เป็นต้น

Bacteriacide (สารกันบูด)

ช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพของสีภายในบรรจุภัณฑ์ (In Can Preservative)

Fungicide (สารป้องกันเชื้อรา)

เพื่อป้องกันการขยายพันธุ์  และ การเจริญเติบโตของสาหร่ายและเชื้อรา ส่วนใหญ่ใช้ในงานสีพลาสติก และ สีน้ำมัน

Defoamer (สารกันฟอง)

เพื่อป้องกันฟองอากาศ ทั้งในระหว่างขั้นตอนการผลิต และการใช้งาน

Thickener (สารปรับความหนืด)

เพื่อปรับความข้นหนืดให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับการใช้งาน หรือความต้องการ

Wetting/Dispersing/Stabilizing Agent (สารช่วยการกระจายตัว)

เพื่อช่วยให้ผงสีหรือฟิลเลอร์กระจายตัวได้ดีในเนื้อสี