Textile Process
กระบวนการผลิตเส้นใย/ เส้นด้าย (Fiber/ Yarn Production)
เส้นใยสิ่งทอแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ได้ 2 ประเภท คือ เส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยประดิษฐ์
สารเคมีหลักที่ใช้ในขั้นตอนการผลิตเส้นด้าย
- สารหล่อลื่น (Lubricants) ช่วยลดแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นกับเส้นใยระหว่างการปั่นด้าย สารหล่อลื่นที่ใช้ส่วน ใหญ่เป็นน้ำมัน mineral oil สารหล่อลื่นกลุ่ม polyaromatic hydrocarbons (PAHs) มีผลเป็นสารก่อมะเร็งและเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม จึงควรหลีกเลี่ยงและปัจจุบันถูกห้ามใช้สำหรับผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่จะนำเข้าสหภาพยุโรป
- สารลดแรงตึงผิว (Surfactants) ที่ใช้ในการเตรียมอิมัลชั่นกับน้ำมัน สารลดแรงตึงผิวประเภท Alcohol Ethoxylates (AEOs) และ Alkyl Phenol Ethoxylates (APEOs)
ปัจจุบัน APEOs เป็นสารกลุ่มที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในปริมาณที่เกินกว่า 0.1% ตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป (Directive 2003/53/EG) เนื่องจากมีผลต่อระบบฮอร์โมนและเป็นสารที่มีสมบัติตกค้างยาวนาน (persistent) สลายตัวช้า สามารถสะสมได้ในสิ่งมีชีวิต (Bio-accumulative) โดยส่วนใหญ่มักสะสมในเนื้อเยื่อไขมันและเป็นพิษ นอกจากนี้ยังเป็นพิษต่อสัตว์น้ำหากเจือปนในน้ำทิ้งจากกระบวนการที่ระบายออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
ขั้นตอนการผลิตผ้าผืน (Fabric Making)
สารเคมีที่ใช้เป็นสารที่ทำหน้าที่หล่อลื่น ลดแรงเสียดทานระหว่างกระบวนการทอและถัก:
- Sizing (Sizing agent): สาร sizing ที่สำคัญนี้มีทั้งสารจากธรรมชาติและสารสังเคราะห์ ได้แก่ แป้ง (Starch) poly vinyl alcohol (PVA) และ carboxymethyl cellulose เป็นต้น การเลือกใช้สารเหล่านี้ควรคำนึงถึงความยาก ความง่ายในการกำจัดออกจากผ้าด้วย การใช้แป้งเป็นสาร sizing เมื่อต้องการกำจัดออกมักจะต้องใช้สารเคมีช่วย ในขณะที่การใช้ PVA ซึ่งมีคุณสมบัติละลายน้ำได้ สามารถกำจัดออกได้ง่ายกว่า และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
ขั้นตอนการเตรียมผ้า (Pre-treatment)
กระบวนการเตรียมผ้าก่อนเข้าสู่กระบวนการย้อม ประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญ คือ
ประเภทของสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการลอกแป้งขึ้นอยู่กับชนิดของสาร sizing ที่ใช้ในขั้นตอนการลงแป้ง(Sizing) เช่น หากใช้แป้ง (starch) เคลือบเส้นด้าย แป้งมีสมบัติไม่ละลายน้ำเมื่อจะกำจัดออกจึงต้องใช้สารออกซิไดซิง (Oxidizing agent) หรือเอมไซม์อะไมเลสย่อยแป้งออก ถ้าเป็น PVA ก็สามารถกำจัดออกได้ง่ายโดยการต้มในน้ำร้อนเนื่องจาก PVA ละลายน้ำได้
- การทำความสะอาด (Scouring)
การทำความสะอาดโดยทั่วไปใช้สารลดแรงตึงผิว (Surfactant) หรือน้ำสบู่ และด่างในการกำจัดสิ่งสกปรกออกจากผ้า สารลดแรงตึงผิวที่ใช้เป็นประเภทประจุลบและไม่มีประจุ ส่วนด่างที่ใช้คือ โซเดียมคาร์บอเนต นอกจากนี้ยังมีการใช้สารลดแรงตึงผิวเป็นสารช่วยเปียก (Wetting Agent)
สารฟอกขาวประเภทออกซิเดทีฟที่สำคัญ ได้แก่ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide), โซเดียมไฮโปคลอไรต์ (Sodium hypochlorite) และโซเดียมคลอไรต์ (Sodium chlorite)
สารฟอกขาวประเภทรีดักทีฟที่สำคัญ ได้แก่ โซเดียม ไฮโดนซัลไฟท์ Sodium hydrosulphite
- การชุบมัน (Mercerization) สำหรับเส้นใยฝ้ายในการชุบมันเพื่อเพิ่มความมันเงาและความสามารถในการดูดซับสีย้อมให้กับเส้นใยฝ้าย มีการใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโซดาไฟที่มีความเข้มข้นสูง (20 - 30%)
ขั้นตอนการย้อม และพิมพ์ (Dyeing /Printing)
สารเคมีหลักที่ใช้ในการย้อม
- สีย้อม (Dyes) : สีไดเร็กต์ สีรีแอคทีฟ สีแว็ต สีซัลเฟอร์ สีเอโซอิค สีดีสเพิร์ส สีเบสิค และสีแอซิด
- สารช่วยย้อม (Auxiliaries) :
- เกลือโซเดียมคลอไรด์ และโซเดียมซัลเฟต ช่วยในการย้อมเพื่อให้สีดูดซับเข้าไปในเส้นใยได้ดีขึ้น
- โซเดียมคาร์บอเนต และโซเดียมไฮดรอกไซด์ เป็นด่าง ช่วยในการผนึกสี
- กรดอะซิติก ช่วยปรับ pH ของน้ำย้อม
- Leveling Agent ช่วยให้การย้อมสม่ำเสมอ
- Dispersing agent สารช่วยกระจาย เพื่อให้ย้อมติดเส้นใยได้อย่างสม่ำเสมอ
สารเคมีที่ใช้ในการพิมเ ป็นสารเคมีที่ใส่เพิ่มจากสีย้อม
- สารเพิ่มความหนืด (Thickener) เป็นสารข้นหนืดที่ใช้ในการเตรียมแป้งพิมพ์
- Binder สารยึดติด ช่วยให้การพิมพ์สีพิกเมนต์บนผ้ายึดติดกับผ้า
- Plasticizer ทำหน้าที่ยึดสีให้เกาะติดกับผ้า ใช้ในงานสีพิกเมนต์ผสมกับสาร PVC
ขั้นตอนการตกแต่งสำเร็จ (Finishing)
สารเคมีที่ใช้มีดังนี้
- สารตกแต่งเพื่อกันยับ (Anti-crease agent) : สารที่นิยมใช้ คือ สารสังเคราะห์ที่ได้จากยูเรีย เมลามีน และฟอร์มัลดีไฮด์
- สารปรับนุ่ม (Softener) : เป็นสารลดแรงตึงผิวที่ใช้เคลือบผิวเส้นใยและทำให้เส้นใยมีสมบัติด้านผิวสัมผัสซึ่งได้แก่ความนุ่มและทิ้งตัวดีขึ้นได้แก่ ประเภทประจุบวก (Cationic softener), ประจุลบ (Anionic softener), ประเภทมีทั้งประจุบวกและลบ (Amphoteric softener) และประเภทไม่มีประจุ (Nonionic softener)
- สารหน่วงไฟ (Flame retardant) : ประเภท Tris (2,3-dibromopropyl)-Phosphate(TRIS, CAS No. 125-72-7) และ Tris (aziridinyl)-Phosphinoxide (TEPA, CAS No. 5355-55-1)
Reference: ดร. จันทร์ทิพย์ ซื่อสัตย์, หน่วยงาน ภาควิชาวิทยาการสิ่งทอ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์